วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

Recent Posts

Learning Experiences Management in Early Childhood Education
Teacher Jintana Suksamran

8 February  2016
Time 14:30 to 17.30 pm






ความรู้ที่ได้รับ

           กิจกรรมในวันนี้การตรวจดูแผนการสอน Mind  Map  และได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม  ของแต่ละกลุ่มตาม
หัวข้อเรื่องของแต่ละกลุ่มมีดังนี้

                                                   หน่วยเห็ด                  หน่วยยานพาหนะ

                                                   หน่วยส้ม                    หน่วยผัก

                                                   หน่วยผีเสื้อ                  หน่วยกล้วย


ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอในหัวข้อเรื่อง หน่วยกล้วย


โดยอาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอนตามวันโดยมีวัตถุประสงค์และการทำ map เพื่อแตก
ความรู้ของหน่วยกล้วยมีดังนี้

1.ชนิดของกล้วย  คือ  เป็นชนิดที่เด็กๆรู้จัก
     - กล้วยหอม                  - กล้วยไข่
     -  กล้วยน้ำว้า                -  กล้วยเล็บมือนาง
     -   กล้วยหิน  

2. ลักษณะของกล้วย คือ
     - สี เช่น ขาว  เหลือง  เขียว เป็นต้น
     - รูปทรง เช่น  วงรี เรียว   ยาว เป็นต้น
     - ผืนผิว เช่น เรียบ ขรุขระ มันวาว เป็นต้น
     - ขนาด เช่น เล็ก ปานกลาง ใหญ่ 

3. การเลือกซื้อ   คือ การเลือกซื้อกล้วยที่ไม่ช้ำไม่มีรอยดำ  มีสีเหลือง เป็นต้น

4.  ประโยชน์ของกล้วย  คือ การแปรรูป   การประกอบอาชีพ  การสร้างรายได้   เป็นต้น

5. ข้อควรระวังของกล้วย คือ เปลือกกล้วยอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เป็นต้น


            อาจารย์ยังแนะนำเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการทำแผนการจัดประสบการณ์ ว่า ควรคิดวัตถุประสงค์และจัด
กิจกรรมให้ครอบคลุมถึงการบูรณาการวิชาต่างๆและให้จัดกิจกรรมที่รวม 6 กิจกรรมหลัก รวมถึงให้มีเนื้อหาการ
สอนที่บูรณาการทักษะถึงวิชาต่างๆ เช่น 

คณิตศาสตร์ คือ การนับจำนวน การแยกหมวดหมู่ การแยกกลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต การวัด การเรียงลำดับ และ
การบวก ลบ 

วิทยาศาสตร์ คือ การกำหนด การตั้งสมมุติฐาน การรวบรวมข้อมูล การลงมือปฏิบัติ การสรุปผล 

สังคมศึกษา คือ การมีส่วนร่วม การร่วมมือ การสร้างชิ้นงานแบบร่วมมือ นิทานแบบร่วมมือ

ภาษา คือ การร้องเพลง คำคล้องจอง ฟังนิทาน การอ่านสัญลักษณ์แทน พูด/เสนอความคิดเห็น

พละศึกษา คือ เกมการศึกษา การล้างมือ การดูแลรักษาตัวเอง เป็นต้น



การนำความรู้ไปใช้

การเรียนในวันนี้ทำให้ได้เรียนรู้ในเรื่องของการแตก map เพื่อให้ได้หัวข้อที่สำคัญในการที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ ซึ่ง

เมื่อทำการแตกความคิด map แล้ว ทำให้การเขียนแผนการจัดประสบการณ์มีความเข้าใจและง่ายมากยิ่งขึ้น


การประเมินผล(Evaluation)

ประเมินตนเอง(Self) 

              
             เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือในการเรียนการ

สอนเป็นอย่างดี รวมถึงนำข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปปรับใช้และเสนอต่ออาจารย์ 


ประเมินเพื่อน(Friends)

              
             เพื่อนๆทุกคนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี   ตั้งคำถามเมื่อเกิดข้อ

สงสัยทำให้เกิดความเข้าใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น


ประเมินอาจารย์(Teachers)

              
              อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  มีเทคนิกในการสอนสามารถยกตัวอย่างให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดง 

ความคิดเห็น  กล้าคิด  กล้าตอบคำถาม ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจได้ง่าย และได้ให้คำแนะนำถึงวิธีการแก้

ปัญหาในรูปแบบต่างๆให้เข้ากับสถานการณ์ในชั้นเรียน  สามารถนำไปพัมนาในการจัดการเรียนการสอน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น